เมนู

นิรยสูตรที่ 4 ง่ายทุกบท.

5. รูปสูตร


ว่าด้วยบุคคลเลื่อมใส 4 จำพวก


[65] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล 4 จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล 4 จำพวกคือใคร คือ
รูปปฺปมาโณ รูปปฺปสนฺโน บุคคลถือรูปเป็นประมาณ เลื่อมใสในรูป
โฆสปฺปมาโณ โฆสปฺปสนฺโน บุคคลถือเสียงกึกก้องเป็นประมาณเลื่อมใส
ในเสียงกึกก้อง
ลูขปฺปมาโณ ลูขปฺปสนฺโน บุคคลถือความเศร้าหมองเป็นประมาณ
เลื่อมใสในความเศร้าหมอง
ธมฺมปฺปมาโณ ธมฺมปฺปสนฺโน บุคคลถือธรรมเป็นประมาณ เลื่อมใสใน
ธรรม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลบุคคล 4 จำพวกมีปรากฏอยู่ ในโลก.
บุคคลเหล่าใดถือรูปเป็นประมาณก็ดี
บุคคลเหล่าใดคล้อยไปตามเสียงกึกก้องก็ดี
บุคคลเหล่านั้น อยู่ในอำนาจความพอใจ
รักใคร่แล้ว ย่อมไม่รู้จักชนผู้นั้น.
คนโง่ย่อมไม่รู้ (คุณธรรม) ภายใน
ทั้งไม่เห็น (ข้อปฏิบัติ) ภายนอ (ของ
ชนผู้นั้น) ถูกรูปและเสียงปิดบัง (ปัญญา)

เสียจนรอบ คนโง่นั้นจึงถูกเสียงกึกก้อง
พัดพาไปได้.
บุคคลใดไม่รู้ภายใน แต่เห็นภาย-
นอก เห็นแต่ผล (คือลาภสักการที่ผู้นั้นได้)
ในภายนอก แม้บุคคลนั้นก็ยังจะถูกเสียง
กึกก้องพัดพาไปได้.
บุคคลใดทั้งรู้ภายในทั้งเห็นภายนอก
เห็นแจ้งไม่มีอะไรเป็นเครื่องปิดบัง บุคคล
นั้นย่อมไม่ถูกเสียงกึกก้องพัดพาไป.

จบรูปสูตรที่ 5

อรรถกถารูปสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในรูปสูตรที่ 5 ดังต่อไปนี้ :-
บุคคลถือประมาณในรูปแล้วเลื่อมใส ชื่อรูปัปปมาณ. บทว่ารูปปฺป-
สนฺโน
เป็นไวพจน์ความของบท รูปปฺปมาโณ นั้น. บุคคลถือประมาณ
ในเสียงกึกก้องแล้วเลื่อมใส ชื่อโฆสัปปมาณ. บุคคลถือประมาณในความ
ปรากฏของจีวรและบาตรแล้วเลื่อมใส ชื่อลูขัปปมาณ. บุคคลถือประมาณ
ในธรรมแล้ว เลื่อมใส ชื่อธัมมัปปมาณ. บทนอกจากนี้ เป็นไวพจน์ความ
ของบทเหล่านั้นนั่นแล เพราะแบ่งสรรพสัตว์ออกเป็นสามส่วน สองส่วน
ถือรูปเป็นประมาณ. ส่วนหนึ่ง ไม่ถือรูปเป็นประมาณ. เพราะแบ่งสรรพสัตว์
ออกเป็นห้าส่วน สี่ส่วน ถือเสียงกึกก้องเป็นประมาณ ส่วนหนึ่งไม่ถือเสียง